การใช้ชีวิตในสวีเดน

เรียนภาษาสวีเดน
หน้าแรก » การใช้ชีวิตในสวีเดน » การเรียนภาษาสวีเดน

การเรียนภาษาสวีเดน

จำเป็นไหมกับการเรียนภาษา

การที่เราจะใช้ชีวิตในสวีเดนการเรียนรู้ภาษาเป็นสิ่งสำคัญมาก ขอย้ำว่าสำคัญมากนะคะ แม้ว่าคุณจะไม่วางแผนที่จะเรียนรู้ภาษาแบบคล่องแคล่ว แต่การเรียนรู้พื้นฐานที่จะใช้ในการสั่งซื้ออาหาร ขอความช่วยเหลือ สื่อสารกับครอบครัวของแฟน และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณในสังคมเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนภาษาสวีเดนในสวีเดนนั้นฟรีค่ะ รัฐบาลจัดหลักสูตรที่เรียกว่า เอสเอฟอี (SFI) ที่แปลว่าภาษาสวีเดนสำหรับผู้อพยพหรือสำหรับชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ โดยจะจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาสวีเดนให้กับทุกคนที่เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศสวีเดน หรือผู้ที่ถือวีซ่าอนุญาตให้อยู่อาศัยและทำงานได้ (วีซ่า UT)

หน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอน SFI คือ “เทศบาล” หรือคอมมูน โดยเทศบาลจะดูแลและให้คำแนะนำเรื่องการเรียนและทำงาน ตามกฎหมายแล้วเทศบาลมีหน้าที่ที่จะต้องทำงานอย่างแข็งขันเพื่อเข้าถึงผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการศึกษาและกระตุ้นให้พวกเขาเข้าร่วม

  • ผู้ที่จะเข้าเรียนได้จะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตหรือวีซ่าและมีถิ่นที่อยู่ในสวีเดน
  • มีเลขประจำตัวสิบหลัก (Personnummer)
  • ขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาสวีเดน

เมื่อได้บัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ให้เราไปติดต่อเทศบาลหรือคอมมูนที่ที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยแต่ละเทศบาลก็จะมีวิธีการติดต่อและรับสมัครแตกต่างกันออกไป

ต้องการรู้ว่าเทศบาลเรามีการติดต่อและรับสมัครอย่างไรให้เข้าไปที่ google.com และใส่คำค้นหา เช่น “Malmö SFI” (ใส่ชื่อเมืองที่เราอยู่และตามด้วยคำว่า SFI)

ดูวีดีโอ “การสมัครเรียนภาษาสวีเดน (SFI) “

การจัดกลุ่มการเรียน SFI นั้น ก่อนเข้าชั้นเรียน โรงเรียนจะมีการทดสอบวัดระดับความรู้ของและจะดูจำนวนเวลาที่เราได้รับการศึกษามาจากประเทศตัวเองกี่ปี

SFI A สำหรับคนที่เรียนมาจากประเทศตัวเอง 0 – 5 ปี

SFI B สำหรับคนที่เรียนมาจากประเทศตัวเอง 6 – 12 ปี

SFI C สำหรับคนที่เรียนมาจากประเทศตัวเองมากกว่า 12 ปี

SFI D เป็นหลักสูตรสุดท้ายที่ทุกคนผ่านการเรียน SFI A B และ C มาแล้ว

ในระหว่างเรียนก็จะมีการทดสอบความรู้เพื่อดูพัฒนาการการเรียนของนักเรียนด้วย ความสามารถในการเรียนนั้นมีความช้าหรือเร็วแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หลังจากเรียนจบในแต่ละหลักสูตร จะมีการวัดระดับผลการเรียนและนักเรียนจะต้องสอบผ่าน Nationella prov เป็นการทดสอบวัดความรู้ด้านการเขียน การพูด และความรู้ความเข้าใจ เพื่อเลื่อนขั้นไปเรียนในหลักสูตรที่สูงขึ้น

ในแต่ละหลักสูตรจะมีเกรดการศึกษา 6 ระดับ ได้แก่ 

A = ดีมากๆ

B = ดีมาก

C = ดี

D = พอใช้

E = ผ่าน

F = ไม่ผ่าน

  • การไปเรียนที่โรงเรียนในวันธรรมดา
  • การเรียนภาคค่ำ
  • การเรียนด้วยตนเองผ่านคอมพิวเตอร์

ในขณะที่ท่านเรียน SFI ควรติดตามข่าวสารกับทางโรงเรียน เพราะจะมีการอบรมต่างๆ เพื่อให้ท่านสามารถหารายได้ในช่วงหน้าร้อนหรือช่วงที่งานนั้นๆ ขาดพนักงาน ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทน ได้เรียนรู้ระบบการทำงานและได้ฝึกการใช้ภาษาสวีเดนไปด้วย โดยการอบรมและการทำงานเหล่านี้จะเป็นการทำงานแบบชั่วคราวเท่านั้น จึงแนะนำว่าควรเรียนภาษาให้จบหลักสูตรและได้วุฒิการศึกษาในสายอาชีพที่ท่านต้องการทำงาน การอบรมที่มีบ่อยครั้ง ได้แก่ การฝึกอบรมการเลี้ยงดูผู้สูงอายุหรือการฝึกอบรมการเลี้ยงดูเด็กเล็ก

SFX คืออะไร

SFX หรือ Svenska för yrkesutbildning คือ หลักสูตรภาษาสวีเดนสำหรับผู้ที่จบการศึกษาในสายอาชีพเฉพาะเจาะจงและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เช่น แพทย์ พยาบาล ครู เมื่อท่านต้องการจะทำงานอาชีพเดิม สามารถสมัครเรียน SFX ซึ่งเป็นการเรียนคล้ายกับ SFI แต่จะมีเนื้อหาที่เข้มข้นและเกี่ยวกับอาชีพนั้นๆ ทั้งนี้จะต้องมีวุฒิการศึกษาในสาขาที่เรียนจบมาและใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ อย่างไรก็ตามหลักสูตรนี้มีสอนเฉพาะที่บางเทศบาลเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเปิดสอนตามเทศบาลของเมืองใหญ่ๆ

การเมื่อเรียนจบ SFI แล้วไปทำอะไรได้ต่อ

เมื่อเรียนจบ SFI D แล้ว มีหลายช่องทางที่ทำได้ค่ะ เช่น หางานหรือจะเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การเรียน SFI เป็นเพียงการเรียนภาษาสวีเดนเท่านั้น หากเราต้องการทำงานในบางสายอาชีพที่ต้องการวุฒิมากขึ้น เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปเรียนในระดับที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ต้องการเป็นพยาบาล เราก็ต้องไปเรียนคอร์สต่าง ๆ ของการศึกษาผู้ใหญ่ในระดับประถมและมัธยม เป็นต้น

วิชาที่เปิดสอนในระดับนี้มีเยอะแยะมากมาย เช่น ภาษาอังกฤษ ฟิสิกซ์ เคมี คณิตศาสตร์  ศาสนา สังคมศาสตร์ ภาษาสวีเดน ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถสมัครเรียนได้เพื่อนำหน่วยกิตไปขอเงินช่วยเหลือจาก CSN หรือเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนในระดับสูงขึ้นต่อไป เช่น ต้องการไปเรียนในระดับสายอาชีพ (Yrkeshögskola) เขาก็จะมีการกำหนดคุณสมบัติว่าเราต้องเรียนวิชาอะไรมาบ้าง

วิชาที่เปิดสอนในระดับนี้มีเหมือนกับในระดับประถมและมัธยมต้น เช่น ภาษาอังกฤษ ฟิสิกซ์ เคมี คณิตศาสตร์  ศาสนา ภาษาสวีเดน ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งในระดับนี้ก็จะแยกออกเป็นสองสายไปอีกคือ สายอาชีพและสายสามัญ เราเลือกได้ว่าอยากจะไปสายไหน ในสายอาชีพก็จะมีแพ็คเก็จที่เราเลือกเรียนได้ เช่น
  • ครูปฐมวัยและครูอนุบาล (Barn – och fritidsprogrammet)
  • ก่อสร้าง (Bygg – och anläggningsprogrammet)
  • ไฟฟ้าและพลังงาน (El- och energiprogrammet)
  • ยานยนต์และการขนส่ง (Fordons- och transportprogrammet)
  • การค้าและการจัดการ (Handels- och administrationsprogrammet)
  • งานช่าง (Hantverksprogrammet)
  • โรงแรมและร้านอาหาร (Hotell- och turismprogrammet)
  • อุตสาหกรรม (Industritekniska programmet)
  • ธรรมชาติวิทยา (Naturbruksprogrammet)
  • ร้านอาหารและอาหาร (Restaurang- och livsmedelsprogrammet)
  • การติดตั้งพลังงานและอาคาร (VVS- och fastighetsprogrammet)
  • การพยาบาลและดูแลคนชราคนพิการ (Vård- och omsorgsprogrammet)

Folkhögskola หรือ การเรียนเฉพาะวิชาในระดับประถมและมัธยมต้นที่เปิดให้ผู้ใหญ่ได้เข้ามาเรียน

  • ไม่เสียค่าเล่าเรียน
  • สามารถขอเงินช่วยเหลือจาก CSN ได้

ที่ Folkhögskola จะมีการเปิดสอนวิชาต่าง ๆ ที่เราสามารถเข้าไปเรียนเพื่อความรู้หรือเรามีความสนใจในวิชานั้น หรือแม้กระทั่งการลงเรียนหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต

เข้าไปหาหลักสูตรได้ที่ https://www.folkhogskola.nu/

วิทยาลัยสายอาชีพที่เมื่อเรียนจบในระดับมัธยมปลายแล้ว เราสามารถสมัครเรียนในหลักสูตรสายอาชีพต่าง ๆ โดยระยะเวลาในการเรียนอยู่ที่ 1 – 3 ปี 

  • ไม่เสียค่าเล่าเรียน
  • สามารถขอเงินช่วยเหลือจาก CSN ได้
  • มีฝึกงาน (Lärande i arbete, LIA) 

อ่านเพิ่มเติมและหาหลักสูตรได้ที่ https://www.yrkeshogskolan.se/

ใครสามารถสมัครเรียนในวิทยาลัยสายอาชีพได้

  • เรียนจบมัธยมปลายหรือจบจาก Komvux
  • มีวุฒิการศึกษาเทียบเท่าระดับมัธยมปลาย

การเรียนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยจะใช้ระยะเวลาในการเรียน 3 – 5 ปีขึ้นอยู่กับหลักสูตรและคณะที่เรียน

  • ไม่เสียค่าเล่าเรียน
  • สามารถขอเงินช่วยเหลือจาก CSN ได้

อ่านเพิ่มเติมและหาหลักสูตรได้ที่ https://www.antagning.se/se/start

ไม่รู้ว่าเรียนอะไรต่อดีหลังจากเรียนจบ SFI

ครูแนะแนวคือคำตอบค่ะ ที่จะช่วยให้เราวางแผนการเรียนได้ว่าเราต้องเรียนอะไรบ้างเพื่อที่จบไปแล้วจะได้งานทำ ครูแนะแนวจะให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ให้คำปรึกษาด้านการเรียนและอาชีพ พูดคุยกับครูประจำวิชาที่เราต้องลงเรียนและช่วยเราวางแผนการเรียน 

เรียนภาษาสวีเดน

ไทยไวส์ได้รวบรวมวีดีโอสำหรับเรียนภาษาสวีเดนด้วยตัวเองเหมาะสำหรับคนที่เพิ่งจะเรียนภาษาสวีเดนและต้องการความรู้เพิ่มเติมหรือคนที่กำลังเรียนภาษาสวีเดนในระดับ SFI ที่ต้องการทำความเข้าใขไวยากรณ์ภาษาสวีเดนที่อธิบายโดยคุณครูคนไทย

ยินดีต้อนรับสู่โครงการส่งเสริมศักยภาพสตรีไทยในสวีเดน

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้