“นวดไทย” คืออาชีพที่ผู้หญิงไทยจำนวนมากนึกถึงเมื่อต้องย้ายไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง เพราะคิดว่าเป็นอาชีพติดตัวที่ใช้ทำมาหากินที่ไหนก็ได้ในโลกใบนี้ โดยอาจจะไม่ต้องใช้ความสามารถในด้านภาษาต่างประเทศมากนัก ก็แค่ “นวด” ฉันต้อง “รอด” อยู่แล้ว
แต่ความเป็นจริงในโลกของธุรกิจร้านนวดไทยในหลายประเทศอาจจะไม่ได้สวยงามอย่างที่คิดฝันไว้เพราะเบื้องหลังคำว่า “นวด” นั้น มีเรื่องราวที่ผู้คนนอกวงการอาจจะนึกไม่ถึงและเป็นมุมมืดที่หลายคนอยากจะเดินออกมาและอาจจะไม่ง่ายเหมือนตอนสาวเท้าก้าวเข้าไป
และนั่นคือที่มาที่ทำให้เกิดโครงการไทยไวส์ (ThaiWISE) ขึ้นมา
ในปีพ.ศ. 2560 มีข่าวหญิงไทยในร้านนวดไทยถูกเอารัดเอาเปรียบทางเพศซึ่งเป็นตัวจุดประกายให้กับองค์กรโนมี (Noomi) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนได้จัดกิจกรรมลงพื้นที่เพื่อตรวจดูสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่หญิงไทยในร้านนวดไทยที่นครมัลเมอ (Malmö) ประเทศสวีเดน ระหว่างปีพ.ศ. 2560 – 2561 ซึ่งพบว่าหญิงไทยบางกลุ่มได้ประสบปัญหานี้จริง และได้พบความจริงต่อ ๆ มา จากการศึกษาที่จัดทำขี้นในปี 2562 ดังนี้
ซึ่งความ “ขาด” และ ความ “เสี่ยง” นำมาซึ่งความไม่แน่นอนในการใช้ชีวิตที่สวีเดน รวมทั้งส่งผลกระทบถึงบุตร โดยเฉพาะบุตรที่ติดตามมาจากไทย และจากการศึกษาอย่างลึกซึ้งนี้เองทำให้เทศบาลเมืองมัลเมอตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อช่วยกันพัฒนาโครงการในการแก้ไขปัญหาร่วมกับองค์กรโนมีอย่างจริงจัง
ไทยไวส์เป็นโครงการนำร่องที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างองค์กรโนมีซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้องค์กรพัฒนาเอกชนที่ชื่อว่า “เฮลา แมนอีควัน (Noomi – Hela Människan)” เทศบาลเมืองมัลเมอและกลุ่มตัวแทนหญิงไทยโดยโครงการได้เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน 2562 และได้รับการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศแห่งสวีเดน (Jämställdhetsmyndigheten)
มัลเมอถูกเลือกให้เป็นพื้นที่นำร่องของโครงการไทยไวส์ซึ่งในอนาคตประสบการณ์จากการทำงานในโครงการนำร่องนี้จะถูกถอดออกมาเป็นบทเรียน เพื่อพัฒนากิจกรรมและขยายโครงการไปสู่เมืองอื่น ๆ ที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มหญิงไทยในเมืองต่าง ๆ ของสวีเดนได้มากขึ้น
1. การโยกย้ายถิ่นอย่างปลอดภัย
2. ส่งเสริมศักยภาพและการเข้าถึงสวัสดิการและบริการของรัฐ
3. พัฒนาธุรกิจนวดไทยที่สอดคล้องต่อกฏระเบียบของภาครัฐ
มีคนไทยในสวีเดนมากหรือไม่ ?
สถิติจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์มในปีพ.ศ. 2561 มีประชากรไทยอาศัยอยู่ในสวีเดนจำนวน 41,240 คนและส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง โดยอาศัยอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่จะหนาแน่นที่สุดในเมืองใหญ่ ๆ เช่น สตอกโฮล์ม (Stockholm) โกเธนเบอร์ก (Gothenberg) และมัลเมอ (Malmö)
คนไทยทุกคนมีสิทธิและสามารถมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือคนไทยด้วยกันเองได้ โดยเราถือว่า นี่คือหัวใจสำคัญของไทยไวส์ โดยหญิงไทยจะเข้ามามีส่วนร่วมได้ในสองส่วนคือ
1. การเข้ามาเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารโครงการเพื่อเป็นกระบอกเสียงแทนหญิงไทยและได้มีโอกาสยกประเด็นปัญหาเพื่อหาทางออกร่วมกับสมาชิกที่มาจากภาครัฐ โดยสมาชิกได้รับการคัดสรรมาจากหญิงไทยที่อยู่ในชุมชน มีความคุ้นเคยกับประเด็นปัญหาและมีความสามารถในการสื่อสาร
2. ปัจจุบันนี้มีสมาคมไทยในสวีเดน ที่จดทะเบียนมากกว่า 30 สมาคม และยังมีกลุ่มหญิงไทยอื่น ๆ ที่อาสาสมัครให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือแก่หญิงไทยด้วยกันเอง ณ วันนี้ ตัวแทนหญิงไทยจากหลายกลุ่มได้เข้ามาช่วยกันพัฒนาฐานข้อมูล ของเว็บไซต์ไทยไวส์และ อยู่ในขั้นตอนการวางแผนร่วมกันในการประสานงานเรื่องการให้คำปรึกษาและการแจ้งหรือส่งต่อกรณีที่ถูกละเมิดต่อหน่วยงานของภาครัฐ
คณะกรรมการบริหารโครงการ
ภายใต้โครงการไทยไวส์ มีคณะกรรมการบริหารโครงการที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำและกำกับดูแลการดำเนินโครงการร่วมกัน สมาชิกคณะกรรมการประกอบด้วย คณะที่ปรึกษาตัวแทนกลุ่มผู้หญิงไทยจากมัลเมอและหน่วยงานภายใต้เทศบาลเมืองมัลเมอซึ่งประกอบด้วย:
หน่วยงานพัฒธมิตรในประเทศสวีเดน และ ประเทศไทย
ผู้ให้ทุนสนับสนุนโครงการ
องค์การเพื่อการพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศแห่งสวีเดน (Jämställdhetsmyndigheten)
www.thaiwise.se เป็นศูนย์บริการข้อมูลครบวงจรที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย นโยบาย และข้อบังคับต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้อ้างอิงจากตัวบทกฎหมายของสวีเดนซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่อยู่ในสวีเดนและผู้ที่วางแผนจะย้ายมาอยู่ที่ประเทศนี้อย่างถาวร
นอกจากนั้นจะมีข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนไทย อุปสรรคและความสำเร็จต่างๆ ของหญิงไทยในสวีเดน ซึ่งจะนำมาบอกเล่าให้ฟังในสื่อรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งคลิปวีดิโอเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจกับการใช้ชีวิตที่สวีเดนให้มากที่สุด
ไทยไวส์ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเว็บไซต์นี้ทั้งในงานด้านเนื้อหาและในด้านเทคโนโลยี
โครงการนำร่องที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างองค์กรโนมี (Noomi) เทศบาลนครมัลเมอและกลุ่มตัวแทนหญิงไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาความเท่าเทียมทางเพศแห่งสวีเดน
เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้