การมาทำงานในสวีเดน

สิทธิและสวัสดิการของการทำงานในสวีเดน
หน้าแรก » เตรียมตัวมาสวีเดน » การมาทำงานในสวีเดน » สิทธิและสวัสดิการของการทำงานในสวีเดน

สิทธิและสวัสดิการของการทำงานในสวีเดน

คู่มือ A - kassa ฉบับภาษาไทย

คู่มือ A-Kassa กองทุนประกันการว่างงาน : เรื่องต้องรู้คู่คนทำงานนี้ จัดทำขึ้นโดย โครงการไทยไวส์ (ThaiIWISE)

คนไทยทุกคนที่โยกย้ายถิ่นมาอยู่ที่สวีเดนและได้รับสัญชาติสวีเดนจะ มีสิทธิ์เท่าเทียมกับชาวสวีเดน ส่วนคนที่ยังถือวีซ่าที่เป็นใบอนุญาติมีถิ่นที่อยู่ที่เรียกว่า Uppehållstillstånd ก็มีสิทธิเช่นกัน แต่ยกเว้นอยู่เรื่องเดียวคือไม่สามารถเข้าร่วมเลือกการเลือกตั้งรัฐบาลในระดับกลางได้ จะมีแค่สิทธิเข้าร่วมการเลือกตั้งในระดับเทศบาลเท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิ์ต่างๆ สามารถหาดูได้ที่นี่

ตกงานแล้วจะได้รับความช่วยเหลืออะไรบ้าง

กองทุนประกันการว่างงานหรือที่เรามักจะคุ้นหูกับคำว่า A – kassa เป็นเงินชดเชยที่จ่ายให้เรา เมื่อตอนที่เราตกงานและกำลังหางานใหม่ เงินประกันนี้มีให้กับทุกคนที่อาศัยและทำงานในสวีเดน แต่มีข้อแตกต่างระหว่างคนที่เป็นสมาชิกกับไม่ได้เป็นสมาชิกของ A – kassa

  • หากเราเป็นสมาชิกกับ A – kassa อย่างน้อย 1 ปี ก่อนที่จะตกงาน เราจะได้รับเงินชดเชยโดยใช้พื้นฐานเงินเดือนตอนที่เราเคยทำงาน จะได้รับเงินชดเชยประมาณ 80% ของเงินเดือนในช่วง 100 วันแรก แต่สูงสุดวันละ 910 kr หลังจากนั้นได้สูงสุด 760 kr ต่อวัน 
  • หากเป็นสมาชิกแล้วหรือเป็นไม่ครบกำหนด จะได้รับเงินชดเชยพื้นฐาน (สูงสุด 510 kr ต่อวัน ต่ำสุด 255 kr ต่อวัน ในช่วง 13 เมษายน พ.ศ. 2563 – 3 มกราคม พ.ศ. 2564)
  • หากเราไม่ได้เป็นสมาชิกกับ A – kassa เราจะได้รับเงินชดเชยขั้นพื้นฐาน
  • ลูกจ้างและเจ้าของกิจการสามารถได้รับเงินชดเชยการตกงานเป็นระยะเวลา 300 วัน
  • หากในวันที่ 300 ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยมีบุตรที่อายุไม่เกิน 15 ปี จะได้วันเพิ่มมาอีก 150 วัน รวมเป็น 450 วัน

เงินเดือนรวมครั้งสุดท้ายกรณีเลิกจ้าง/ ออกจากงาน (slutlön)
คือเงินที่อาจประกอบไปด้วย เงินจากวันลาพักร้อนที่เหลือที่ลูกจ้างยังไม่ได้เบิกออก, เงินที่ลูกจ้างอาจเบิกออก จากการขอวันลาพักร้อนล่วงหน้า, เงินจากการที่ลูกจ้างอาจเคย ทำงานล่วงเวลาหรือเกินเวลาไว้แล้วยังไม่ได้รับการชดเชยต่างๆ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสิ้นสุดการจ้างงาน

เกฑณ์พื้นฐานทั่วไปที่จะสามารถขอรับเงินชดเชยได้

  1. ลงทะเบียนเป็นผู้หางานและว่างงานกับกรมจัดหางานสวีเดน (Arbetsförmedlingen)
  2. ยืนยันกับสำนักงานจัดหางาน ว่าท่านสามารถทํางานได้ อย่างน้อย 3 ชม./วัน รวม 17 ชม/ สัปดาห์
  3. พร้อมที่จะทำงานตาม ที่สำนักงานจัดหางาน เสนอให้ได
ลาพักร้อน

เราสามารถลาพักร้อนได้ 25 วันต่อปี หากเป็นพนักงานประจำและทำงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน จนถึงวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป ซึ่งต้องเอาวันลาพักร้อนออกอย่างน้อย 20 วันต่อปีและสามารถเก็บสะสมได้ 5 วันต่อปี และสะสมได้สูงสุดต่อเนื่อง 5 ปี ทั้งนี้วันลาพักร้อนจะมากขึ้นตามอายุเมื่อเริ่มทำงาน แต่อาจมีจำนวนแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงานและขึ้นกับข้อตกลงร่วมกับสหภาพแรงงานด้วย โดยช่วงเวลาของการลาพักร้อนส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมของทุกปี

  • คุณสามารถลาพักร้อนได้ 25 วัน ต่อปี หากคุณเป็นพนักงานประจำและทำงานมาแล้ว อย่างน้อย 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน จนถึงวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
  • อาจเป็นวันพักร้อนที่ได้เงินลาพักร้อน (betala semesterdagar) หรือแบบไม่ได้เงิน( obetalda semesterdagar) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ที่คุณทำงานมาก่อนหน้านี้
  • จำนวนเงินที่ได้ขึ้นอยู่กับรายได้ของเราและขึ้นอยู่กับที่ทำงานเรามีสัญญาตกลงร่วม (Kolletivavtal) หรือไม่
  • หากไม่ได้เป็นพนักงานประจำจะได้เงินพักร้อน 12% ของเงินเดือน
  • ดูวีดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “กฎหมายพักร้อนในสวีเดน
  • คนที่เป็นลูกจ้างสามารถขอลาหยุดงานได้ มากกว่า 25 วัน แต่สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน ต่อปี แต่ยังคงมีการคงไว้ซึ่งตำแหน่งการทำงานอยู่เหมือนเดิม
  • การลาแบบนี้เป็นการลาโดยไม่ได้รับเงินเดือน การลาลักษณะนี้อาจเป็นการลา เพื่อไปทำกิจกรรม อย่างอื่น เช่น การลาไปศึกษาต่อ การลาไปทำภารกิจอื่นที่สำคัญ ทั้งนี้ต้องมีการแจ้งและผ่านการเห็นชอบจากนายจ้างด้วยเช่นกัน
เมื่อป่วยแล้วจะต้องทำอะไร

เราสามารถลาป่วยได้ในช่วง 14 วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ โดยนายจ้างจะเป็นผู้จ่ายเงินเดือนเมื่อป่วยหรือเงินป่วย (Sjuklön/ Sjukpenning) ให้ในช่วงวันที่ 2 – 14 วันแรกของการป่วย โดยวันที่ 1 ของการป่วยเราจะไม่ได้รับเงินเดือนจากนายจ้าง อย่างไรก็ตามเราสามารถทำการขอรับเงินทดแทนจากกรมประกันสังคมได้

หากท่านมีอาการป่วยเกินกว่า 14 วัน จะต้องขอใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลหรือหน่วยงานสาธารณสุขที่ท่านไปรักษา เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือจากกรมประกันสังคม ทั้งนี้หากนายจ้างไม่ทำการจ่ายเงินป่วยให้ท่านในช่วง 14 วันแรกของการป่วย ท่านก็สามารถยื่นเรื่องขอเงินป่วยได้ทางเว็บไซต์ของกรมประกันสังคม (Försäkringskassan) เนื่องจากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 อยู่ในขณะนี้ จึงได้มีการยืดหยุ่นให้สามารถลาป่วยได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์เป็นระยะเวลา 21 วัน 

เงินชดเชยเมื่อเจ็บป่วยเรียกว่า Sjuklön/sjukpenning

  • ปกติเมื่อเราป่วย นายจ้างจะเป็นผู้จ่ายเงินป่วยให้ในช่วง 14 วันแรกของการป่วย หลังจากนั้นกรมการประกันสังคม (Försäkringskassan) จะเป็นผู้จ่ายเงินป่วยให้ แต่ช่วงสถานการณ์โควิด-19 รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง โดยรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเจ็บป่วยของลูกจ้างทั้งหมดในช่วงเดือน เมษายน – กรกฏาคม พ.ศ. 2563
  • อาจมีนายจ้างบางรายที่ไม่จ่ายเงินป่วยให้ในช่วง 14 วันแรกของการป่วย เราสามารถยื่นเรื่องขอเงินป่วยกับกรมการประกันสังคมได้ค่ะ
  • เงินชดเชยป่วยสามารถรับได้ 80% ของเงินเดือน แต่สูงสุด 804 kr ต่อวัน
  • ในสถานการณ์ปกติหากเราป่วยเกิน 7 วันต้องยื่นใบรับรองแพทย์แต่ช่วงสถานการณ์โควิด-19 รัฐบาลออกกฎให้ไม่จำเป็นต้องยื่นใบรับรองแพทย์ในช่วง 21 วันแรกของการป่วย
  • อ่านข้อกำหนดและการสมัครได้ที่เว็บไซต์ของ Försäkringskassan
  • อ่าน “เงินป่วย” จากหนังสือคู่มือคนไทยในสวีเดน
  • ต้องมีการรับรองจากแพทย์ว่าคุณคือผู้ติดเชื้อหรือติดโรคที่สามารถแพร่กระจายต่อบุคคลอื่นได้
  • คนที่เป็นลูกจ้างจะได้รับเงินชดเชยประมาณ 80% ของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 804 kr ต่อวัน
  • หรือหากเป็นผู้ตกงานจะได้ร้บเงินชดเชย 80% ของเงินเดือนก่อนการตกงาน แต่สูงสุด 543 kr ต่อวัน
  • นักเรียน/นักศึกษา ได้รับเงินชดเชยค่าเดินทางจากการต้องเดินทางไปพบแพทย์ หรือการเดินทางที่มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อ

เงินชดเชยการบาดเจ็บระยะยาวจากการทำงาน

เกี่ยวกับกองทุนประกันการว่างงาน

เข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่กรมจัดหางานสวีเดน 

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้