การมาทำงานในสวีเดน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำงานในสวีเดน
หน้าแรก » เตรียมตัวมาสวีเดน » การมาทำงานในสวีเดน » ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำงานในสวีเดน

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำงานในสวีเดน

กฎหมายและการจ้างงาน

รูปแบบการจ้างงานในสวีเดนมี 4 แบบคือ

  1. การจ้างงานที่ไม่มีกำหนดเวลา (Fastanställa) หรือหมายถึงการเป็นพนักงงานประจำถูกจ้างงานโดยถาวร งานบางอย่างที่ถูกจ้างโดยบางองค์ ตัวอย่างเช่น ทำงานกับเทศบาลหรือคอมมูน ในเริ่มแรกเราทำงานรายชั่วโมงแล้วเราเก็บสะสมชั่วโมงการทำงานจนครบ  3 ปี เทศบาบลก็จะจ้างเราให้เป็นพนักงานถาวร เราสามารถทำงานได้จนเราเกษียณอายุ
  2. การจ้างงานที่มีกำหนดเวลา เป็นการจ้างงานในระยะเวลาสั้น ๆ ได้แก่
    • ทำงานรายชั่วโมง
    • ทำงานเป็นโครงการที่มีระยะเวลากำหนด
    • ทำงานแทนคนอื่น
    • ทดลองงาน
  3. รับจ้างอิสระหรือฟรีแลนซ์
  4. จ้างตัวเอง
  5. จ้างแบบให้เช่า 
ในสัญญาว่าจ้างมีอะไรบ้าง
  • ชื่อและหมายเลขประจำตัว
  • ตำแหน่งงาน
  • ชื่อผู้ว่าจ้างและสถานที่ทำงาน
  • วันที่เริ่มงานและวันสิ้นสุด (ในกรณีที่จ้างแบบชั่วคราว)
  • เงินเดือน
  • สิทธิและหน้าที่และข้อตกลงร่วม
รู้หรือไม่

เหล่านี้เป็นสิทธิพื้นฐานที่เราควรได้เมื่อมาทำงานที่สวีเดน

  • ชั่วโมงการทำงานประมาณ 36 – 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • วันพักร้อน 25 วัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของเราตอนที่ถูกจ้างงาน ถ้าถูกจ้างงานตอนอายุที่มากขึ้น เราก็จะได้วันพักร้อนเพิ่มขึ้น)
  • สามารถลาป่วยได้ หากป่วยเกิน 7 วันต้องยื่นใบรับรองแพทย์
  • สามารถลากิจได้โดยไม่รับเงินเดือน เช่น ไปเรียนต่อ ไปทดลองงานใหม่ (ตำแหน่งงานยังคงอยู่) แต่ลากิจแบบนี้ได้เฉพาะคนที่เป็นพนักงานประจำ
  • ได้รับเงินให้ไปดูแลสุขภาพ ในหลาย ๆ องค์กรจะมีเงินให้พนักงานเอาไปใช้สำหรับดูแลรักษาสุขภาพ เช่น สมัครสมาชิกฟิตเนส เข้าสปา นวด โดยเงินที่ได้จะเป็นรายปี
การบอกเลิกจ้างงาน
  • นายจ้างต้องทำการเช็คในบริษัทก่อนว่าภายในบริษัทมีตำแหน่งงานในแผนกไหนที่ว่างที่จะให้เราไปทำงานตรงนั้นได้
  • ถ้านายจ้างจะเลือกคนให้ออกจากงาน นายจ้างจะเลือกคนที่เข้ามาทำงานทีหลังให้ออกจากงานก่อน
  • เมื่อเราออกจากงานไปแล้วและภายใน 9 เดือนมีงานใหม่เข้ามาและที่มำงาน (ที่เราออกจากงาน) ต้องการคนทำงาน เรามีสิทธิ์ที่จะได้งานนั้นก่อน ก่อนที่จะมีการรับพนักงานใหม่

 

  • ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับงานที่ทำ
  • ขาดงานบ่อยจนส่งผลกระทบถึงงานและคนในที่ทำงาน
  • ไม่ทำงานตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้าง
  • ก่อเหตุหรือก่อคดีความที่เกี่ยวข้องกับที่ทำงาน
  • หากพนักงงานถูกเลิกจ้างด้วยเหตุผลนี้ นายจ้างต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าสองอาทิตย์ก่อนการเลิกจ้าง
การทำงานและการเสียภาษี

ภาษีลูกจ้างหรือภาษีรายได้ส่วนบุคคล หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Anställningsskatt หรือ A-skatt) เป็นภาษีที่คนทำงานจะต้องจ่ายโดยภาษีนี้จะถูกหักจากเงินเดือนของเรา โดยนายจ้างที่หักภาษีลุกจ้างตามตารางภาษีแล้วนำส่งให้ Skatteverket

การหักภาษีนั้นจะมีอัตราที่แตกต่างกันไปในแต่ละเทศบาลเมืองที่ท่านอาศัยอยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนผู้ว่างงานในเทศบาลเมืองนั้นๆ หากมีผู้ว่างงานจำนวนมาก อัตราการเก็บภาษีก็จะสูงขึ้น เป็นต้น และผู้ที่มีรายได้สูงจะถูกหักภาษีในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่มีรายได้น้อยลงมา

อ่านเพิ่มเติม “ระบบภาษีในสวีเดน”

ภาษีที่ทุกคนในสวีเดนจ่ายจะถูกนำไปจัดสรรในการบริหารประเทศ เช่น ระบบการศึกษาที่ให้ทุกคนได้เรียนฟรี การรักษาพยาบาล พัฒนาระบบคมนาคมหรือระบบขนส่ง การดูแลเด็กและผู้สูงอายุ และเงินบำนาญให้ผู้สูงอายุ

อ่านเพิ่มเติมการเสียภาษีในสวีเดนนั้นให้อะไรกับเราบ้าง

สหภาพแรงงานในสวีเดน

สหภาพแรงงานหรือ Fackförbund/Facket เป็นหน่วยงานที่ให้บริการคำปรึกษาด้านกฎหมายแรงงานให้ความช่วยเหลือลูกจ้างในองค์กรต่างและช่วยเจรจาต่อรองเงินเดือนและสิทธิต่าง ๆ ให้ลูกจ้าง การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่เป็นข้อบังคับอยู่ที่ความสมัครใจ หากต้องการเป็นสมาชิกก็จะเสียค่าสมาชิกรายเดือน

รู้หรือไม่

  • สหภาพแรงงานเป็นคนละหน่วยงานกับสำนักงานประกันสังคมหรือ Försäkringskassa
  • ถ้าเราเป็นสมาชิกกับ A – kassa แล้ว เราไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกกับสหภาพแรงงานก็ได้
  • สหภาพแรงงาน (Facket) และกองทุนประกันการว่างงาน (A-kassa) ไม่ใช่องค์กรเดียวกันและมีหน้าที่หลักที่แตกต่างต่างกัน แต่มักจะมีการใช้ชื่อร่วมกันหรือคล้ายๆ กัน เนื่องจากสององค์กรนี้มักจะทำงานร่วมกันและมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องติดต่อร่วมกันเสมอ ดังนั้นเวลาท่านจะสมัครสมาชิก โปรดดูให้ละเอียดว่ากำลังสมัครเป้นสมาชิกขององค์กรใด
  • ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแรงงาน หากเมื่อเรารู้สึกว่าเราไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน เช่น ไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน
  • ช่วยเจรจาต่อรองเรื่องเงินเดือนและสิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างควรได้รับ
  • หากสมาชิกเจ็บป่วยหรือว่างงานอาจจะมีสิทธิ์ได้เงินชดเชยมากกว่าปกติ
สัญญาความตกลงร่วม

สัญญาความตกลงร่วมหรือ Kollektivavtal คือ การลงนามทำสัญญาข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานที่มีข้อกำหนด เช่น รูปแบบการว่าจ้าง เงินเดือน เงินล่วงเวลา การเลิกจ้าง เงินบำนาญและประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น ทั้งนี้ข้อตกลงนี้ยังนำไปใช้กับพนังงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกับสหภาพแรงงาน แต่ทำงานในสถานที่ทำงานที่มีข้อตกลงร่วม

การทำสัญญาความตกลงร่วมนี้ไม่ได้เป็นข้อบังคับทางกฎหมายว่านายจ้างทุกรายจะต้องทำเพราะฉะนั้นจึงมีนายจ้างที่เข้าร่วมหรืออาจจะไม่เข้าร่วมก็ได้ การทำสัญญาความตกลงร่วมนั้นมีข้อดีต่อลูกจ้างที่ทำงานกับนายจ้างที่เข้าร่วมสัญญานี้ คือ เมื่อนายจ้างตกลงทำสัญญาความตกลงร่วมนี้แล้ว นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่ระบุในสัญญาดังกล่าว เช่น เรื่องการขึ้นเงินเดือนประจำปี เป็นต้น และลูกจ้างเองก็จะได้รับความอุ่นใจในเรื่องของเงื่อนไขการว่าจ้างต่างๆ ตามที่กล่าวมา อีกทั้งลูกจ้างยังสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ ในองค์กรอีกด้วย

ยินดีต้อนรับสู่โครงการส่งเสริมศักยภาพสตรีไทยในสวีเดน

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้