ภาษีของสวีเดนประกอบด้วยภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ มากมายหลายอย่าง แต่ที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ภาษีเงินได้และภาษีโรงเรือนที่จะต้องเสียให้แก่เทศบาล
และรัฐ นอกจากนั้นก็ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษียานยนต์ ฯลฯ อีกด้วย รัฐสภา (โดยการนำเสนอของรัฐบาล) เป็นผู้กำหนดนโยบายเรื่องภาษี ส่วนอัตราภาษีนั้นกำหนดโดยสภาเทศบาล และสภามณฑลของแต่ละแห่ง ผู้เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยมีกรมสรรพากร (Skatteverket) มีหน้าที่ในการดูแลเรื่องจัดเก็บภาษี และค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนการจัดทำทะเบียนราษฎร์ (Folkbokföring)
ข้อมูลมาจาก “หนังสือคู่มือคนไทยในสวีเดน”
เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากการทำงาน การทำธุรกิจ และจากทุน จำนวนรายได้ที่ต้องเสียภาษีคือ จำนวนรายได้รวมทั้งปีที่ได้หักจำนวนลดหย่อน (grundavdrag) ออกแล้ว จำนวนหักลดหย่อนสำหรับปี พ.ศ. 2554 หรือ ค.ศ.2011 เท่ากับ 18 200 โครนาสวีเดน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนราคาฐาน (prisbasbelopp) ที่รัฐบาลกำหนด ภาษีเงินได้ แบ่งออกเป็นสองระดับคือ ภาษีเงินสำหรับเทศบาลและมณฑล (Kommunal och Landsting inkomstskatt) และภาษีเงินได้สำหรับรัฐบาล (Statlig inkomstskatt)
ทุกคนจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซือสิ้นค้าและบริการต่าง ๆ ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้าและบริการที่เราจ่าย
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราจ่ายมีดังนี้
• 25 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้าและการบริการต่าง ๆ
• 12 เปอร์เซ็นต์ของราคาอาหาร โรงแรม และที่
พักแรม
• 6 เปอร์เซ็นต์ของราคาค่าโดยขนส่งสาธารณะในท้องถิ่น หนังสือ หนังสือพิมพ์
นิตยสาร และสินค้าบางประเภท และค่าบริการต่าง ๆ ในส่วนของงานศิลปะและวัฒนธรรม
การบริการบางประเภทที่ไม่ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ตัวอย่างเช่น
• การรักษาพยาบาล ทันตแพทย์ และการบริการดูแลช่วยเหลือ บุคคลทุพพลภาพ
และผู้สูงอายุ
• การศึกษา เช่น การศึกษาภาคบังคับ มัธยมศึกษาตอนปลาย และอุดมศึกษา
• การบริการด้านการเงินการธนาคาร
• การประกันภัย
• ค่าเช่า
ภาษีสรรพสามิต เป็ นภาษีพิเศษสินค้าบางประเภท เช่น แอลกอฮอล์ และเบนซิน รัฐเป็นผู้พิจารณาว่า สินค้าประเภทใดที่สมควรจ่าย ภาษีสรรพสามิต ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เป็นอันตรายต่อ สภาพแวดล้อมหรือสุขภาพ ซึ่งรัฐต้องการให้เราลดปริมาณการบริโภคสิ่งเหล่านั้นให้น้อยลง
ตัวอย่างสินค้าคุณต้องจ่ายภาษีสรรพสามิตมีดังนี้
• เชื้อเพลิง (เบนซิน นำ้มัน ถ่านหิน แก๊ส)
• ไฟฟ้า
• แอลกอฮอล์
• ยาสูบ
กฎหมายกำหนดไว้ว่า ทุก ๆ ปี บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลจะต้องแจ้งการเสียภาษีเงินได้ โดยใช้แบบฟอร์มการแจ้งการเสียภาษีเงินได้ของกรมสรรพากร
(inkomstdeklaration) ที่จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายได้ต่าง ๆ พร้อมรายการหักลดหย่อนและยื่นให้กับกรมสรรพากรเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ อย่างช้าที่สุด วันที่ 2 พฤษภาคมของปีการเสียภาษี (taxeringsår) ถ้าปีไหนที่วันที่ 2 พฤษภาคมตรงกับวันเสาร์หรือวันหยุดราชการ ก็ให้ใช้วันธรรมดาถัดไป
ปัจจุบันกรมสรรพากรจะได้รับข้อมูลต่าง ๆ จากนายจ้าง บริษัทประกันภัย กองทุน ประกันสังคม และธนาคาร ทางกรมสรรพากรจึงได้กรอกข้อมูลต่าง ๆ ลงในใบแจ้งภาษีของบุคคลธรรมดาแต่ละคนและส่งไปให้ตามที่อยู่ที่มีอยู่ เพื่อให้บุคคลผู้นั้นตรวจสอบหรือใส่ข้อมูลเพิ่มเติม และส่งกลับให้กรมสรรพากร หลังจากนั้น (ล่าสุดไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคมของปีการเสียภาษี) กรมสรรพากรจะส่งใบแจ้งจำนวนภาษีแท้จริง (slutskattebeskedet) ไปให้ทุกคนที่ได้แจ้งการเสียภาษีเอาไว้ ในใบแจ้งจำนวนภาษีแท้จริงนี้ จะระบุว่า ได้มีการจ่ายภาษีเกิน (ภาษีเงินได้ที่ได้รับคืน – skatteåterbäring) หรือจ่ายภาษีไม่ครบ (ภาษีค้างจ่าย – kvarskatt) และเงื่อนไขการรับคืนและการจ่ายเพิ่มไว้ด้วย
ThaiWISE – Hela Människan i Malmö
Per Albin Hanssons 32A,
214 32, Malmö
โทรศัพท์: (+46) 760 35 32 78 (วันจันทร์ – พุธ 10.00 – 16.00)
อีเมล์: contact@thaiwise.se
© THAIWISE – HELA MÄNNISKAN I MALMÖ. ALL CONTENT COPYRIGHTED | COOKIES
เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้