ข้อมูลเบื้องต้นที่สำคัญที่ควรรู้ก่อนออกเดินทาง

20 เรื่องที่ควรรู้ก่อนไปเรียนต่อที่สวีเดน

20 เรื่องที่ควรรู้ก่อนไปเรียนต่อที่สวีเดน

ข้อมูลจาก:  hotcourses Thailand 

การปรับตัวไม่ใช่เรื่องยาก หากเราเตรียมพร้อมข้อมูลต่างๆ ไว้ให้แน่นปึ้กข้อมูลเหล่านี้คือสิ่งที่จะช่วยให้การปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตและเรียนในสวีเดนของคุณง่ายขึ้น

1. ชาวสวีเดนชื่นชอบการดื่มกาแฟมาก
ในประเทศสวีเดนมีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟที่เรียกว่า Fika ซึ่งมักจะดื่มกันในช่วงเช้าและบ่าย มีการหาขนมดีๆ
มากินกับกาแฟและสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานด้วยความผ่อนคลาย ไม่ใช่แค่ดื่มเพื่อแก้ง่วงเท่านั้นช่วงเวลาพักผ่อนแบบนี้แหละที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้ดีนักแล

2. ทุกที่ต้องต่อคิว
ไม่ว่าจะในร้านขายยา หน่วยงานราชการหรือแม้กระทั่งร้านขายเนื้อสัตว์ในท้องถิ่นแทบทุกที่ในสวีเดนจะมีหมายเลขบัตรคิวให้กับผู้มาใช้บริการเสมอเวลาไปห้างร้านต่างๆ ก็อย่าลืมมองหาจุดรับบัตรคิวก่อนเป็นอันดับแรก

3. ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ถึงแม้จะไม่สามารถสื่อสารภาษาสวีดิชได้ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตในสวีเดนแต่อย่างใดเพราะคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในสถาบันการศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี แต่เมื่อมีโอกาสได้มาเรียนต่อก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่คุณจะได้ฝึกภาษาใหม่ๆ เพื่อเป็นทักษะติดตัว หากสนใจเรียนภาษาสวีดิชฟรี ติดต่อสมัครเรียนได้ที่หน่วยงาน SFI (Swedish ForImmigrants) โดยลงทะเบียนผ่านเทศบาลเมืองท้องถิ่น

4. ช็อปปิ้งให้เสร็จก่อน 17.00 น.
ร้านรวงในประเทศสวีเดนจะปิดให้บริการค่อนข้างเร็วโดยเฉพาะในหยุดสุดสัปดาห์ ถ้าเป็นตอนดึกๆ
จะมีแต่ร้านในปั๊มน้ำมันเท่านั้นที่ยังเปิดอยู่ชาวสวีเดนส่วนใหญ่เลิกงานประมาณห้าโมงเย็น ช่วงเวลาตั้งแต่ 17.00-18.30 น.ร้านค้าจึงเนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่มาจับจ่ายซื้อของก่อนกลับบ้านถ้าไม่อยากเบียดเสียดและต่อคิวยาวเหยียด ควรรีบมาชอปให้เสร็จก่อนที่ทุกคนเลิกงานจะดีกว่า

5. อาหารบางอย่างบรรจุอยู่ในหลอดยาสีฟัน
อย่าแปลกใจถ้าพบเจออาหารเหลวข้นบางอย่าง เช่น ไข่ปลาคาเวียร์ มายองเนส มัสตาร์ด และอื่นๆ บรรจุอยู่ในแพ็กเกจที่หน้าตาเหมือนหลอดยาสีฟันเป๊ะ เพราะนั่นคือเรื่องปกติของสวีเดน และมันก็สะดวกดีนะ แค่หยิบขึ้นมาบีบเบาๆ คุณก็สามารถโปะคาเวียร์ลงบนไข่ต้มผ่าซีกได้เลย ไม่ต้องหาช้อนมาตักให้ยุ่งยาก

สวีเดนเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นผู้นำด้านทัศนคติความเสมอภาคระหว่างเพศจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่บางครอบครัวผู้หญิงจะเป็นฝ่ายออกไปทำงานนอกบ้าน ส่วนผู้ชายกลับเป็นผู้ดูแลบ้านและเลี้ยงลูกแทน นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่ระบุว่าคู่สมรสสามารถลาหยุดงานได้ 480 วันเพื่อเลี้ยงดูบุตรโดยได้รับค่าจ้าง โดยวันลาสามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งพ่อและแม่

ไม่ว่าแดดจะออก ฝนจะตก หรือหิมะโปรยปรายสักเพียงใด กิจกรรมเอาท์ดอร์ก็ยังเป็นสิ่งที่ชาวสวีเดนส่วนใหญ่ชื่นชอบ พวกเขารักการออกไปสูดอากาศสดชื่น ทิ้งตัวท่ามกลางธรรมชาติ และสะพายเป้ขึ้นหลังออกไปผจญภัยสุดๆ เลยล่ะ

เดือนกรกฎาคมเป็นสุดยอดไฮซีซั่นของยุโรปเพราะฤดูร้อนจะมาเยี่ยมเยือนพร้อมอากาศอบอุ่นและช่วงเวลากลางวันที่แสนจะยาวนานเหมาะแก่การออกไปท่องโลกกว้างเป็นที่สุด หลาย ๆ บริษัทและห้างร้านในสวีเดนจึงมักปิดทำการในเดือนนี้ เพื่อให้พนักงานได้พักผ่อนหย่อนใจชาร์จพลังก่อนจะกลับมาลุยงานต่อ พวกเขาลาพักร้อนติดกันได้นานถึง 4-6 สัปดาห์เชียวล่ะ …น่าอิจฉาชาวสวีเดนเนอะ

ลา-กอม เป็นคำในภาษาสวีเดน มีความหมายว่าพอดีๆ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดในการดำเนินชีวิตตามแบบฉบับของชาวสวีเดนที่ให้ความสำคัญกับการมีสมดุลในทุกๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การออกแบบ การแต่งกาย การแสดงอารมณ์ และอื่นๆ อยากรู้ว่าทำไมชาวสวีเดนถึงบอกว่า Lagom is Best!
ก็คงต้องลองไปสัมผัสวัฒนธรรมของพวกเขาดู

รายการประกวดร้องเพลงชื่อดังของสวีเดน ที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมของทุกปี เพื่อเฟ้นหาตัวแทนประเทศไปแข่งขัน Eurovision Song Contest การแข่งขันร้องเพลงชิงแชมป์ยุโรปในเดือนพฤษภาค รายการนี้เขาจัดมายาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 โน่นเลย ถ้าอยากเมาท์มอยกับเพื่อนชาวสวีเดนรู้เรื่อง ไม่ควรพลาดชม Melodifestivalen นะคะ

มีร้านค้าเพียงไม่กี่แห่งในสวีเดนที่คุณจะสามารถหาซื้อเฟอร์นิเจอร์ราคาคุ้มค่าและอาหารได้ในเวลาเดียวกัน อิเกีย (IKEA) นี่แหละตัวเลือกที่คุ้มค่าสุดๆ แล้ว อิเกียหลายๆ สาขามีรถบัสบริการรับส่งฟรีจากใจกลางเมืองด้วย

หลายประเทศในแถบยุโรปเราสามารถเดินเข้าไปในบ้านคนอื่นได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องถอดรองเท้า
แต่ธรรมเนียมของชาวสวีเดนส่วนใหญ่มักจะถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้าน

สำหรับคนที่มาจากประเทศในเขตร้อนอย่างพวกเรา ฤดูหนาวถือเป็นช่วงเวลาที่ต้องปรับตัวเยอะทีเดียว
ส่วนใหญ่ฤดูหนาวของสวีเดนจะกินเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง -7 องศาเซลเซียสและมีช่วงเวลากลางวันที่สั้นกว่ากลางคืนในทางตอนเหนือของประเทศสวีเดนบางปีฤดูหนาวอาจยาวนานถึงแปดเดือนและมี แสงแดดแค่สามชั่วโมงต่อวันเท่านั้น

ชาวสวีเดนก็เหมือนชาวยุโรปในหลายๆ ประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องตรงต่อเวลามาก แม้กระทั่งการจิบกาแฟชิลล์ๆ อย่าง Fika ถ้ามีการนัดหมายเวลาไว้แล้วคุณก็ควรมาตามเวลาที่กำหนด
ยิ่งถ้าเป็นการเดินทางหรือประชุมงานยิ่งไม่ควรสายอย่างเด็ดขาด เพราะการประชุมจะเริ่มตามเวลาทันที ถึงแม้ว่าคุณจะยังมาไม่ถึงก็ตาม

ในร้านอาหารและบาร์ของสวีเดนมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสิร์ฟไม่ต่างจากเมืองไทยค่ะ แต่ถ้าต้องการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับไปกินที่บ้านจะต้องซื้อจากร้านที่เรียกว่า Systembolaget มีอยู่ประมาณ 400 สาขากระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ร้านเหล่านี้ผูกขาดกิจการโดยรัฐบาลสวีเดนและขายสินค้าให้กับผู้ที่อายุ 20 ปีขึ้นไปเท่านั้นรวมถึงไม่มีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายใดๆ ทั้งสิ้นจุดประสงค์ก็เพื่อควบคุมปริมาณการดื่มไม่ให้มากจนเกินไป

16. อย่าลืมพกถุงไปซื้อของ
เพื่อตอบสนองต่อนโยบายการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ร้านค้าส่วนใหญ่ในสวีเดนจึงคิดเงินค่าถุงกระดาษหรือถุงพลาสติก ทุกครั้งที่ไปซื้อของลูกค้าจึงควรพกถุงไปใส่ของเอง จะได้ประหยัดเงินและช่วยกันลดขยะให้แก่โลกใบนี้นะคะ

17. เทศกาลที่มาพร้อมอาหารพิเศษ
แน่นอนว่าในเทศกาลสำคัญอย่างคริสต์มาส อีสเตอร์ มิดซัมเมอร์ และงานฉลองต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ (Walpurgis Eve) ชาวสวีเดนจะมีการกินเลี้ยงฉลองกันเป็นปกติอยู่แล้ว แต่นอกจากงานเหล่านี้ก็ยังเทศกาลพิเศษที่มีอาหารประจำเทศกาลโดยเฉพาะ เช่น Fat Tuesday (Fettisdagen) ที่พวกเขาจะกินขนม Semla
อันอุดมไปด้วยไขมันและพลังงานสูงลิ่ว นอกจากนี้ก็ยังมี Waffle Day (Våffeldagen) ในวันที่ 25 มีนาคม และ Cinnamon Bun Day (Kanelbullens dag) ในวันที่ 4 ตุลาคม ซึ่งเราสามารถกินขนมแสนอร่อยที่เต็มไปด้วยไขมันและน้ำตาลได้ทั้งวันโดยไม่ต้องรู้สึกผิด

18. น้ำก็อกดื่มได้
น้ำก็อกในสวีเดนสามารถดื่มได้โดยไม่เป็นอันตราย ช่วยให้ประหยัดเงินค่าน้ำดื่มและยังลดขยะขวดน้ำพลาสติกด้วยได้ประโยชน์สองต่อเลย

19. Business Casual = กางเกงยีนส์
ปกติแล้วการแต่งกายแบบ Business Casualหรือชุดทำงานจะค่อนข้างดูเป็นทางการในระดับหนึ่ง แต่ที่สวีเดนคนส่วนใหญ่นิยมแต่งกายแบบง่ายๆ สบายๆ และดูไม่เป็นทางการมากจนเกินไปนัก อย่างเสื้อเชิ้ตกับกางเกงยีนส์ก็ถือว่าเป็นชุดที่ดูสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับการมาทำงานแล้ว ยกเว้นในกรณีที่ติดต่อกับลูกค้าต่างชาติหรือประชุมอย่างเป็นทางการพวกเขาถึงจะแต่งตัวแบบเต็มยศ

20. การศึกษาและบริการสุขภาพไม่ได้ฟรีทั้งหมด
สวีเดนเป็นประเทศที่รัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูงและมีรัฐสวัสดิการหลายอย่างที่น่าพึงพอใจ แต่ก็ไม่ได้ฟรีไปหมดทุกอย่างนะคะ เวลาไปพบแพทย์จะมีค่าใช้จ่ายต่อปีสูงสุดไม่เกิน 1,100 SEK ส่วนในด้านการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ถ้าเป็นคนที่ถือสัญชาติ EU/EEA หรือสวิตเซอร์แลนด์จะได้รับสิทธิ์เรียนฟรี ส่วนนักศึกษาจากชาติอื่นๆ มีค่าธรรมเนียมประมาณ 80,000 – 140,000 SEK ต่อปี

แชร์ไปในเฟสบุ๊ค

ยินดีต้อนรับสู่โครงการส่งเสริมศักยภาพสตรีไทยในสวีเดน

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้