ชีวิตความเป็นอยู่ในสวีเดนในด้านต่าง ๆ

การช่วยเหลือและบริการแก่คนพิการในสวีเดน
หน้าแรก » การใช้ชีวิตในสวีเดน » ชีวิตความเป็นอยู่ในสวีเดนในด้านต่าง ๆ » การช่วยเหลือและบริการแก่คนพิการในสวีเดน

การช่วยเหลือและบริการแก่คนพิการในสวีเดน

ผู้ที่ร่างกายไม่ได้มีการพัฒนาเป็นปกติ หรือมีร่างกายพิการ จะได้รับความช่วยเหลือจากทั้งทางก็เมือง (เทศบาล) ซึ่งรับผิดชอบด้านการให้บริการ และสภามณฑลซึ่งรับผิดชอบเรื่องการรักษาพยาบาล

เอกสารอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับคนพิการ

เด็กพิการจะต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากสังคม เทศบาลเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลเด็กซึ่งจะรวมถึงการดูแลเด็กพิการด้วย ส่วนใหญ่แล้วเด็กพิการจะถูกจัดให้รวมอยู่ในกลุ่มเด็กปกติทั่วไป ทั้งที่โรงเรียนอนุบาล และที่สถานดูแลเด็กช่วงเวลาว่าง แต่ก็มีบ้างที่จะจัดให้เด็กพิการอยู่ในเฉพาะกลุ่มคนพิการเท่านั้น

เทศบาลหลายแห่งได้มีบริการพิเศษให้ เช่น การไปช่วยดูแลเด็กแทนเป็นครั้งคราวและเด็กที่มีพัฒนาการที่ด้อยกว่าปกติหรือมีความพิการมาก จะมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษมากขึ้น ส่วนสภามณฑลนั้นจะรับผิดชอบเรื่องด้านการแพทย์ ครูพิเศษ เจ้าหน้าที่แนะนำ (kurator) และนักจิตวิทยา โดยเรียกว่าเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพ (rehabilitering) ของเด็ก

ในมหาวิทาลัยและวิทยาลัยทุกแห่งจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อ (kontaktperson) ไว้เพื่อให้ความช่วยเหลือนักศึกษาพิการ ในด้านการศึกษา และมาตรการช่วยเหลือด้านต่างๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.studera.nu

ถ้าต้องการทราบว่า มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยได้จัดบริการอะไรไว้บ้างเพื่ออำนวยความสะดวกในการไปมาในเขตมหาวิทยาลัย หรือการศึกษา เช่น ล่ามภาษามือ ตำราที่ทำไว้เพื่อคนที่พิการทางตา ก็จะดูได้จากเว็บไซด์ของแต่ละมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยนั้น

องค์กรคนพิการ

คนพิการแต่ละประเภทจะมีองค์กรของตนเอง และได้รวมตัวกันเป็นสหพันธ์คนพิการ (Handikappförbundens samarbetsorgan) ซึ่งมีองค์กรของคนพิการจำนวน 39 สมาคมเป็นสมาชิก เทศบาลบางแห่ง จะมีคณะที่ปรึกษาเรื่องคนพิการประจำเทศบาล ที่มีหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานของเทศบาลกับองค์กรของคนพิการ และในลักษณะเดียวกันในระดับมณฑลก็มีคณะที่ปรึกษาเรื่องคนพิการในระดับมณฑลด้วย นอกจากนั้น ออมบูดมานด้านกีดกัน (Diskrimineringsombudsmannen) ก็จะทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์และสิทธิของคนพิการด้วยในบางกรณีคนไข้สามารถได้รับเงินช่วยเหลือค่าเดินทางไปรับการรักษาด้วย

เอกสารอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์กรคนพิการ

เงินช่วยเหลือและเงินชดเชย

บิดาหรือมารดามีสิทธิหยุดงานเพื่อดูแลบุตรที่ป่วยหรือพิการที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป การหยุดงานดูแลบุตรนี้สามารถหยุดได้จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายนของปีที่เด็กมีอายุครบ 19 ปี และสามารถหยุดได้ทั้งแบบเต็มเวลาหรือแบบไม่เต็มเวลา

เงินช่วยเหลือเพื่อดูแลเด็กป่วยหรือพิการแบบเต็มเวลา มีเป็นจำนวน 8 917 โครนาสวีเดนต่อเดือน (ค.ศ.2011) ส่วนเงินช่วยเหลืออันเนื่องมาจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนั้น จะจ่ายให้ในจำนวน 36 % หรือ 62.5 % ของจำนวนราคาฐาน (prisbasbelopp)จำนวนราคาฐานปี ค.ศ.2011 เท่ากับ 42 800โครนาสวีเดน

สำหรับบิดามารดาที่บุตรพิการของตนอยู่ในความดูแลของสถาบันสำหรับเด็กพิการ บิดามารดามีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือแบบชั่วคราว สำหรับระยะเวลาที่บุตรพิการมา

เอกสารอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือการดูแลบุตรพิการ

ผู้ที่ป่วยหรือพิการ ภายใต้เงื่อนไขบางประการจะได้รับเงินชดเชยความพิการนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนของปีที่มีอายุครบ 19 ปี ถ้าคนพิการผู้นี้จำเป็นต้องมีคนคอยช่วยเหลือในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในการทำงาน ในการเรียนหนังสือ หรือถ้าคนพิการผู้นั้นต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นมาก และความพิการนี้จะต้องเกิดก่อนมีอายุครบ 65 ปี และจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างน้อย 1 ปี และเงินชดเชยนี้จะให้ต่อไปหลังจากอายุครบ 65 ปีแล้วด้วย ถ้าความพิการนั้นเกิดก่อนอายุครบ 65 ปีจำนวนเงินชดเชยการพิการนี้จะมีเป็นจำนวนตั้งแต่ 36 % หรือ 53 % หรือ 69% ของจำนวนราคาฐานและจะทำการพิจารณาเรื่องการจ่ายเงินชดเชยนี้พร้อมๆ กับการพิจารณาเรื่องเงินป่วย หรือเงินบำนาญ เงินชดเชยการพิการนี้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ และยื่นขอได้ที่กองทุนประกันสังคมโดยต้องมีใบรับรองแพทย์

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินชดเชยพิการและการสมัครขอ

ยินดีต้อนรับสู่โครงการส่งเสริมศักยภาพสตรีไทยในสวีเดน

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณพบกับความแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ๆ ของเว็บไซต์ของเรา ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เราสามารถส่งมอบประสบการณ์ ที่ดีเมื่อคุณติดตามเนื้อหาในเว็บไซต์ของเราและยังช่วยให้เราในการปรับปรุงเว็บไซต์ของเราอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณใช้งานเว็บไซต์ของเรา ถือว่าคุณได้ยินยอมให้เราใช้คุกกี้